กาแล็กซี่เพื่อนบ้าน

มาตรฐาน

กาแล็กซีเพื่อนบ้าน

  1. 1.              กาแล็กซีแอนโดรมีดา 

เป็นกลุ่มดาวทางท้องฟ้าทิศเหนือ ใกล้กับกลุ่มดาวม้าบิน เมื่อลากเส้นระหว่างดาวสำคัญ จะเห็นคล้ายรูปตัวเอใหญ่ (A) แต่ผอมยาวกว่า กลุ่มดาวนี้ได้ชื่อตามเจ้าหญิงแอนโดรมีดา ในเทพปกรณัมกรีก ดาราจักรแอนโดรมีดาอยู่ในกลุ่มดาวนี้ กลุ่มดาวแอนโดรมีดา จะอยู่สูงที่สุดบนฟ้า เวลาประมาณ สามทุ่มในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน

ดวงดาวในกลุ่มดาวแอนโดรมีดา จัดเรียงกันเป็นรูปคล้ายผู้หญิง ดาวดวงสว่างที่เห็นได้ชัด เป็นส่วนศีรษะและเข็มขัด ส่วนแขนข้างหนึ่งคล้ายมีอะไรล่ามอยู่ (ทำให้ดูยาวกว่าแขนอีกข้าง)
ดูโดยรวมแล้วจึงคล้ายกับสตรีนางหนึ่ง ถูกโซ่ล่ามไว้

ตามตำนานของกรีกนั้นเจ้าหญิงแอนโดรมีดาเป็นธิดาของกษัตริย์ซีฟิอัส (Cepheus) กับราชินีแคสซิโอเปีย (Cassiopeia) แห่งอาณาจักรเอธิโอเปีย (ในตำนาน) เจ้าหญิงแอนโดรมีดา ถูกล่ามโซ่ไว้ เพื่อรอเป็นอาหารของปิศาจในทะเล ซีตัส (Sea Monster,Cetus) และเธอก็ได้รับความช่วยเหลือจากเพอร์ซิอัส (Perseus) (วีรบุรุษผู้เพิ่งกลับจากการพิชิตกอร์กอน-ปิศาจเมดูซา)

ซึ่งต่อมาเจ้าหญิงแอนโดรมีดาได้แต่งงานกับเพอร์ซิอัส มีลูกด้วยกัน7คน (ชาย6 หญิง1) บุตรชายคนหนึ่งชื่อเปอร์เซซ (Perses) ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวเปอร์เซีย

สิ่งที่น่าสนใจ ซึ่งดึงดูดนักดูดาวให้ตั้งกล้องส่องมาทางกลุ่มดาว แอนโดรมีดา ได้แก่ กาแล็กซีแอนโดรมีดา หรือที่เรียกสั้น ๆ เป็นรหัสว่า M31 กาแล็กซีแอนโดรมีดาเป็นกาแล็กซีรูปเกลียว (Spiral galaxy) คือมีลักษณะกลมแบนเหมือนจานสองใบประกบกัน มีแขนเกลียวยื่นออกมา คล้าย ๆ กันกับ กาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา และยังเป็นกาแล็กซีขนาดใหญ่ ที่อยู่ใกล้ทางช้างเผือกของเรามากที่สุด (คืออยู่ห่างไปเพียง 2.2ล้านปีแสง)

คนแรกที่สามารถวัดระยะทาง จากโลกไปถึง กาแล็กซีแอนโดรมีดาได้ คือเอ็ดวิน ฮับเบิล(ซึ่งต่อมากล้องโทรทรรศน์ลอยฟ้าฮับเบิล ก็ตั้งชื่อตามชายผู้นี้) เขาแสดงให้เห็นว่า ระยะทางจากโลกไปยังกาแล็กซีแอนโดรมีดานั้น มากกว่าขนาดของกาแล็คซีทางช้างเผือก ดังนั้น กาแล็กซีแอนโดรมีดาจึงอยู่นอกทางช้างเผือกของเรา (เป็นอีกกาแล็คซีหนึ่งต่างหาก) และมีขนาดใหญ่มาก ๆ

ถ้าถ่ายภาพกาแล็กซีแอนโดรมีดา ด้วยกล้องดูดาวกำลังขยายสูงมาก ๆ จะพบว่า มันมีกาแล็กซีเพื่อนบ้านเล็ก ๆ เป็นฝ้าจาง ๆ อีก 2กาแล็กซี คือ M32 (NGC 221) และ M110 (NGC 205)

 

 

  1. 2.              กาแลกซีแมกเจลแลนใหญ่
              กาแลกซี่ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้าและยังอยู่ใกล้กับเรามากที่สุดด้วยคือแมกเจลแลนใหญ่ (Large Magellanic Cloud, LMC) และแมกเจลแลนเล็ก (Small Magellanic Cloud, SMC) แต่เมืองไทยเรามองไม่เห็นเพราะเป็นกาแลกซี่ในซีกฟ้าใต้ ส่วนที่อยู่ทางซีกฟ้าเหนือคือแอนโดรเมดา (Andromeda, M31) และกาแลกซีในกลุ่มดาวสามเหลี่ยม (Triangulum, M33) ซึ่งมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในคืนที่ฟ้ามืดและไม่มีแสงไฟรบกวนทั้ง M31 และ M33 นี้เป็นวัตถุที่อยู่ไกลที่สุดที่เรามองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ส่วนกาแลกซี่ทางช้างเผือกของเราก็เป็นกาแลกซี่แบบกังหันที่มีดาวอยู่ประมาณสองแสนล้านดวงและดวงอาทิตย์ของเราก็อยู่ที่แขนข้างหนึ่ง

 

              ซึ่งห่างออกมาจากใจกลางกาแลกซีเป็นระยะทาง 8.5 กิโลพาร์เซค (kpc) กาแลกซีทั้ง 5 อันนี้เป็นกาแลกซีที่สว่างและมีมวลมากที่สุดในกลุ่มท้องถิ่น (Local Group, L.G.)
ถึงแม้ว่าเราจะเห็นกาแลกซีใน L.G. มาตั้งนานแล้วแต่กาแลกซีที่เพิ่งรู้ว่าเป็นสมาชิกของ L.G. ดวงแรกที่มองด้วยกล้องโทรทรรศน์คือ M32 ซึ่งค้นพบโดย G. Le Gentil ในปีค.ศ. 1749 ตั้งแต่นั้นมานักดาราศาสตร์ก็ค้นพบสมาชิกของ L.G. เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ฮับเบิลเสนอเรื่อง L.G. ในปีค.ศ. 1936 เขาพบว่ามีกาแลกซี ใน L.G. ถึง 11 อัน ตอนนี้มีกาแลกซีใน L.G. อยู่ 44 อัน แต่จำนวนนี้ยังไม่แน่นอน
เนื่องจากยังมีการค้นพบเรื่อยๆและบางอันอาจเป็นสมาชิกของกลุ่มอื่นไม่ใช่กลุ่มของเรา กาแลกซีที่พบส่วนมากจะค้นพบในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น
สาเหตุที่เราหาสมาชิกของ L.G. ยากเนื่องจากว่าสมาชิกส่วนมากเป็นกาแลกซีแคระ (Dwarf Galaxies, D.G.) นอกจาก M31, M33 และทางช้างเผือกกาแลกซีแคระคือ กาแลกซีที่มีความสว่างน้อยหรือเป็นกาแลกซีที่มีความสว่างของพื้นที่ผิวน้อย (low surface brightness galaxies) ซึ่งวัดว่าแสงจากกาแลกซีนั้นกระจายออกไปมากน้อยเพียงไรในอวกาศ ในกรณีของ D.G. ความสว่างพื้นผิวของมันน้อยกว่าความสว่างของท้องฟ้าทำให้มันเหมือนมืดและหายากแม้ว่าจะอยู่ใกล้ก็ตาม

หนึ่งการตอบรับ »

ส่งความเห็นที่ eiei ยกเลิกการตอบ